วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 2 แนวคิด หลักการและทฤษฎี ของนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ

 “นวัตกรรม” คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมาย ถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก 1. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษาพอจะสรุปได้4 ประการ คือ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) 2. ความพร้อม (Readiness) 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา 4. ประสิทธิภาพในการเรียน 2. นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ ความหมาย e-Learning หมายถึง “การ เรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ“ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะ กระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการWorld Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่าง กัน จะที่มีการ เรียนรู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ 1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room 2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น 3. ความหมายของเทคโนโลยี เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) 4. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ ก 2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล 3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา 4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก 5. หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย4 ทฤษฎี 1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล 1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ 2. ทฤษฎีการสื่อสาร 3. ทฤษฎีระบบ 4. ทฤษฎีการเผยแพร่ ลักษณะของนวัตกรรม 1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ - คิดหรือทำขึ้นใหม่ - เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า - คัดแปลงปรับปรุงของเดิม - เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี - สถานณ์การเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่ 2.เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา 3.นำมาใช่หรือปฎิบัติได้ดี 4.มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ความหมายของเทคโนโลยี พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้นิยามคำนี้ว่า เทคโนโลยี น. วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ 1. ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่ เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน 2. นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ 1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้ 2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป 3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ 4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของคนเรา ซึ่งก็รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด และควรที่จะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งมาตรา 66 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเกี่ยวข้องกันกับใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยในการเรียนรู้ด้วย โดยเทคโนโลยีการเรียนรู้จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ 1. เทคโนโลยีการศึกษาด้านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา เอกสารชุดวิชาและพิมพ์อื่น ๆ 2. เทคโนโลยีด้านสื่อโสตทัศน์ เช่น วัสดุอุปกรณ์ และโสตทัศนูปกรณ์เทปเสียงและวีดิทัศน์ 3. เทคโนโลยีด้านสื่อสารมวลชน เช่น รายการวิทยุกระจายเสียงทางการศึกษาและรายการวิทยุโทรทัศน์การศึกษา 4. เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย เครือข่ายฐานข้อมูล และ Internet โดยทั้ง 4 องค์ประกอบนี้เราสามารถนำมาเป็นตัวที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีโดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ 1.การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน E-mail และ Internet ได้ เป็นต้น 2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น 3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี ได้แก่การเรียนรุ้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทางกับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ทั้งผู้สอนและนักเรียนมีการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ซึ่งเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้แต่เฉพาะในห้องเรียน โดยถ้านักเรียนสนใจที่จะหาความรู้ด้วยตนเองก็สามารถหาข้อมูลผ่านทางระบบ Internet ได้ แต่สื่อเหล่านี้ก็ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่เพราะถ้าเรามีงบประมาณพอเราก็จัดหาได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยังขาดแคลนคือข้อมูล เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศไม่ดีแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ 1. แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ 2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบและระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ลักษณะของสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ และประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 3. ความหมายของข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียง ฯลฯ เช่น - จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์มูลฐานของนักศึกษา - ที่อยู่ปัจจุบันของนักศึกษา - งบประมาณเงินรายได้ของคณะวิทยาการจัดการ - ระเบียบการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ 4. ความหมายของสารสนเทศ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล ประมวลผล สารสนเทศ 6. ความหมายของความรู้ การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ 7. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ข้อมูล สารสนเทศ บุคคลใช้ความรู้ การตัดสินใจ จัดรูปแบบ กลั่นกรอง สรุปข้อมูล ความต้องการใช้สารสนเทศ สารสนเทศ แปลความหมาย ปฏิบัติ 8. ระบบและระบบสารสนเทศ ระบบ หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วย การนำเข้าสู่ระบบ ( Input) การประมวลผล ( Process) และผลลัพธ์ ( Output) และการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ ( Feedback) 9. ตัวอย่างระบบและส่วนประกอบของระบบ ขายตั๋วไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ผู้ชมได้ตั๋ว ดูหนัง การขายตั๋ว คนดูหนัง คนขายตั๋ว ฯลฯ การขายตั๋วภาพยนต์ ได้ผู้ชนะเป็นตัวแทนเขต ผลการแข่งขัน การแข่งขันกีฬา นักกีฬา สนามแข่ง ผู้ฝึกสอน ฯลฯ การแข่งขันกีฬากีฬาเขต การได้มาซึ่งความรู้ บัณฑิต งานวิจัย การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหาร ตำรา ฯลฯ สถาบัน การศึกษา ผลลัพธ์ ประมวลผล ส่วนนำเข้า เป้าหมาย ส่วนประกอบ ระบบ 10. ระบบสารสนเทศ เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ 11. ข้อมูลนำเข้า ประมวลผล ผลลัพธ์ องค์การ ระบบสารสนเทศ ( IS) ข้อมูลสะท้อนกลับ สิ่งแวดล้อมองค์การ สหภาพแรงงาน ผ้ถือหุ้น ( เจ้าของกิจการ ) สถาบันการเงิน ผู้ขายปัจจัยการผลิต ชุมชนโลก ลูกค้า รัฐบาล ( นโยบาย กฎหมาย ) คู่แข่งขัน 12. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information Systems: MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการหาคนหรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และตัดสินใจในองค์การ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนี้ยังช่วยผู้บริหารและพนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และผู้ใช้ เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ 13. สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ 14. คุณลักษณะที่ดีของสารสนเทศ ถูกต้องแม่นยำ สมบูรณ์ครบถ้วน เข้าใจง่าย ทันต่อเวลา เชื่อถือได้ คุ้มราคา ตรวจสอบได้ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการใช้ สะดวกในการเข้าถึง ปลอดภัย 15. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ กระบวนการ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสารและเครือข่าย ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล 16. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ในด้านการเมือง การปกครอง สังคม สาธารณสุข คมนาคม และความมั่นคงปลอดภัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Leaning การจัดทำสื่อการศึกษาแหล่งสารสนเทศ และใช้ในการบริหารการศึกษาจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า สารสนเทศ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ ได้ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ บันทึก ออกผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนในการวางแผนการปฏิบัติงาน การวินิจฉัยสั่งการตามความต้องการของผู้บริหาร ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยสรุปว่า ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถปรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีทั้งระบบใหญ่และเล็ก อันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ท้าทายของทุกคนมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์กับงานต่าง ๆ มากมายตามลักษณะของการใช้งานและประเภทของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพียู เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ 2. ซอฟต์แวร์ (software) ได้แก่ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับควบคุม ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ 3. ข้อมูล (data) ได้แก่ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน ข้อมูลนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ 4. บุคลากร (people ware) ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่สำหรับพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ (programmer) มีหน้าที่ดูแลทั้งระบบ และผู้ใช้ระบบ (user) อุปกรณ์ที่สำคัญด้วยคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine) คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่สัญญาณไฟฟ้าและถูกแปลงเป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ 2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed) การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินการต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที) 3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability) คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้ 4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage) คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร 5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication) คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องอื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ (remote computer) การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทและความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเรามากโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ที่มีอุปกรณ์การสื่อสารที่ทันสมัย เราจึงจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อจะได้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 1. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. บทบาทต่อการดำเนินชีวิต เช่น การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง 2. บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การจัดเก็บข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น 3. บทบาทด้านธุรกิจ เช่น งานด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้มการเจริญเติบโตของบริษัท 4. บทบาทด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซอฟท์แวร์สื่อการสอน 5. บทบาทด้านการวิจัย เช่น การวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาประเทศ การวิจัยด้านการเกษตร การวิจัยด้านการแพทย์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ฯลฯ ต้ออาศัยเทคโนโลยีโดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านการประมวลผลข้อมูล เข้ามาช่วยเพื่อใช้งานวิจัยเพื่อต้องการความถูกต้องและความแม่นยำสูง 6. บทบาทด้านการทหาร เช่น การสื่อสารระหว่างหน่วยงานทางราชการ งานด้านข่าวกรอง 7. บทบาทด้านการแพทย์ เช่น การรักษาพยาบาล การผ่าตัด การตรวจโรค 8. บทบาทด้านอื่นๆ เช่น ด้านการบิน การโรงแรม การกีฬาและการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม โดยสรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อเราในแทบทุกด้าน ทั้งด้านการประกอบอาชีพการงาน การศึกษาเล่าเรียน การติดต่อสื่อสาร การรักษาพยาบาล ความสำคัญของสารสนเทศ องค์การต่างๆ ได้พัฒนาแผนงานและกลยุทธ์ด้านสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจและความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจ 1. การท้าทายของเศรษฐกิจโลก สารสนเทศ คือ อำนาจ และการรู้จกคู่แข่งขัน และลูกค้า เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานธุรกิจประสบความสำเร็จ 2. การแข่งขันทางการค้า จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ไร้ขีดจำกัด และการทำธุรกิจมีความเป็นอิสรเสรีมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น 3. การขยายเครือข่ายทางการค้า การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมการบริโภคสินค้าขอผู้บริโภคทำให้การดำเนินงานธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รูปแบบธุรกิจที่แต่เดิมมีการซื้อ-ขายและให้บริการภายในประเทศที่ผลิตสินค้าเท่านั้นได้มีการขยายตลาดไปยังสาขาต่างๆ รูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) และธุรกิจออนไลน์ในลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว ทำให้แต่ละองค์การต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้บริการลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน